TKP HEADLINE

ภูมิปัญญาท้องถิ่นตำบลบ้านกระแชง

 

ภูมิปัญญาท้องถิ่นตำบลบ้านกระแชง


ภูมิปัญญาด้านหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

ชื่อ-สกุล นายบรรจง ทองย่น

วัน/เดือน/ปีเกิด วันที่ 22 ธันวาคม 2494

ระดับการศึกษา ปริญญาตรี

ชื่อภูมิปัญญาด้าน หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

ที่อยู่ตามทะเบียนบ้าน 55/10 หมู่ ๒ ต.บ้านกระแชง อ.เมืองปทุมธานี จ.ปทุมธานี 12000

ประกอบอาชีพ ข้าราชการเกษียณ

โทรศัพท์มือถือ 0874514214

อ่านเพิ่มเติม

วัดโพธิ์เลื่อน

 



วัดโพธิ์เลื่อน

วัดโพธิ์เลื่อน สร้างเมื่อประมาณ พ.ศ. 2352 ในสมัยรัชกาลที่ 1 ตอนปลาย เดิมมีนามว่า “วัดอวิมาตยาราม”ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อประมาณ พ.ศ.2356

ในอดีตมีชายผู้หนึ่งไม่ทราบนาม แต่ชาวบ้านเรียกชายผู้นี้ว่า “ชีประขาว” เพราะแกชอบนุ่งขาวห่มขาวอยู่เสมอ ได้มาพักอาศัยอยู่ที่วัดนี้ ได้ชักชวนชาวบ้านปฏิสังขรณ์วัด ครั้นต่อมาคณะปลัดเก่า ได้ขุดโพธิ์ต้นใหญ่อยู่ทางทิศเหนือวัดประมาณ 80 เมตร ชาวบ้านได้ช่วยกันขอ มาปลูกไว้ด้านหลังอุโบสถ จึงได้ชื่อว่า “วัดโพธิ์เลื่อน” อ่านเพิ่มเติม

ศูนย์การเรียนรู้ "บ้านธรรมชาติบำบัด

 


ศูนย์การเรียนรู้ "บ้านธรรมชาติบำบัด


การประสานประโยชน์ร่วมกัน

ภาวะเศรษฐกิจ สังคมและการดำรงชีพในปัจจุบันทำให้รายได้ของชนชั้นกลางลงมาล่างถดถอย ค่าครองชีพที่สูงขึ้น สินค้าจำเป็นราคาแพงขึ้น แต่รายรับยังคงเท่าเดิม การหากินฝืดเคือง การค้ารายย่อยทยอยปิดตัว เพราะถูกผู้ค้าปลีกรายใหญ่ขยายธุรกิจครอบคลุมครบวงจร

เกษตรกรและผู้ประกอบอาชีพรายย่อยในชุมชน จึงต้องหันมาร่วมมือกันนำความสามารถเฉพาะตัว และของดีในชุมชนที่ตนอยู่อาศัย มาร่วมด้วยช่วยกันเพื่อความอยู่รอด …

นี่คือที่มาของชุมชนและคนสูงวัยกับ“เครือข่ายอาชีพชุมชน”ที่มีกลุ่มสูงวัยใจอาสาเป็นตัวกลางประสานประโยชน์ร่วมกัน อ่านเพิ่มเติม

สไบมอญ” มรดกวัฒนธรรมชุมชนมอญ

 


สไบมอญ” มรดกวัฒนธรรมชุมชนมอญ

หากใครมีโอกาสเข้าร่วมชมประเพณีชาวมอญ มักเห็นการแต่งกายที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวมอญที่นิยมห่มสไบ ทั้งชายและหญิง หลายคนอาจสงสัยว่า ทำไมสไบมอญจึงนิยมปักลวดลายทั้งผืนในเมื่อใช้งานเพียงด้านเดียว เหตุผลสำคัญที่ต้องปักลวดลายทั้งผืนนั้น เนื่องจากผ้าสไบต้องใช้ในงานพิธีต่างๆ เช่น งานแต่งงาน แม่ฝ่ายหญิงจะคลี่ผ้าสไบห่มไหล่ในขั้นตอนรับขันหมาก จึงเป็นเหตุผลของการปักสไบลวดลายทั้งผืน เพราะเมื่อคลี่ออกจะเห็นลวดลายที่สวยงามนั่นเอง อ่านเพิ่มเติม

การสารตะกร้าจากผักตบชะวา

 




การสารตะกร้าจากผักตบชะวา

เป็นวัชพืชที่หาง่ายในท้องถิ่นมาสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ โดยน าภูมิปัญญาการท า ผลิตภัณฑ์จักสานจากไม้ไผ่มาประยุกต์ใช้ท ากระเป๋าถือ สามารถจ าหน่ายเป็นรายได้เสริมของครอบครัว และประกอบกับบุตรสาวเรียนอยู่ที่กรุงเทพมหานครกลับมาบ้านก็จะน ากระเป๋าถือไปด้วย ผู้คนพบเห็น ต่างพากันชอบใจ จึงสอบถามและสั่งซื้อในปริมาณมากขึ้นเรื่อยๆ อ่านเพิ่มเติม

การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากผักตบชวา

 


การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากผักตบชวา

การจัดการศึกษาอาชีพในปัจจุบัน มีความสำคัญมากเพราะจะเป็นการพัฒนาประชากรของประเทศให้มีความรู้ ความสามารถและทักษะในการประกอบอาชีพ เป็นการแก้ปัญหาการว่างงานและส่งเสริมความ เข้มแข็งให้แก่เศรษฐกิจชุมชน ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดยุทธศาสตร์ 2555 ภายใต้กรอบเวลา 2 ปี ที่จะพัฒนา 5 ศักยภาพของพื้นที่ใน 5 กลุ่มอาชีพใหม่ ให้สามารถแข่งขันได้ใน 5 ภูมิภาคหลักของโลก “รู้เขา รู้เรา เท่าทัน เพื่อแข่งขันได้ในเวทีโลก“ ตลอดจนกำหนดภารกิจที่จะยกระดับการจัดการศึกษาเพื่อเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถให้ประชาชนได้มีอาชีพที่สามารถสร้างรายได้ที่มั่นคง โดยเน้นการบูรณาการให้สอดคล้องกับศักยภาพด้านต่าง ๆ มุ่งพัฒนาคนไทยให้ได้รับการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพและการมีงานทำอย่างมีคุณภาพ ทั่วถึงและเท่าเทียมกัน ประชาชนมีรายได้มั่นคง มั่งคั่งและมีงานทำอย่างยั่งยืน มีความสามารถเชิงการแข่งขันทั้งในระดับภูมิภาค อาเซียน และระดับสากล ซึ่งจะเป็นการจัดการศึกษาตลอดชีวิตในรูปแบบใหม่ที่สร้างความมั่นคงให้แก่ประชาชนและประเทศชาติ สภาพสังคมในปัจจุบันมนุษย์เราได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ เช่น ด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคมและสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก ประชากรเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ แต่ทรัพยากรมีน้อยลง จึงมีความจำเป็นต้องใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้มีความคุ้มค่ายิ่งขึ้น โดยเฉพาะด้านการดำรงชีพและชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนนอกจากจะมีการประกอบอาชีพเพื่อเป็นการเลี้ยงตัวเองและครอบครัวแล้ว ยังมีสิ่งที่ถือว่าเป็นภาระหนักคืออาหารเพื่อบริโภคประจำวัน จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่มนุษย์เราจะต้องสร้างขึ้นหรือหามาทดแทนโดยวิธีการต่าง ๆ เพื่อการอยู่รอด การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากผักตบชวาเป็นแนวคิดและการพัฒนาผลิตสิ่งประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้ เพื่อเป็นการช่วยส่งเสริมเอาชีพให้กับประชาชนได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ได้รู้วิธีการขั้นตอนการการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากผักตบชวาในรูปแบบต่าง ๆ วิธีการ และเป็นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่า นอกจากนั้นยังสามารถนำไปจำหน่ายเพื่อเป็นรายได้เสริมให้กับครอบครัว ผักตบชวาที่เรียกว่า “ผักตบชวา” นั้นก็เป็นเพราะว่าตรงบริเวณโคนก้านใบของผักตบชวาจะมีลักษณะพองออก คนนิยมนำมาใส่มือแล้วบีบหรือตบเล่น จะมีเสียงแตกดัง ๆ ผักตบชวาจัดเป็น “เอเลี่ยน สปีซีส์” หรือ “ชนิดพันธุ์ต่างถิ่น”ที่เข้ามาแพร่ระบาดรุกรานจนสร้างความเสียหายต่อระบบนิเวศในไทยก่อให้เกิดน้ำเน่าเสียและกีดขวางทางน้ำ เนื่องจากสามารถขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว โดยผักตบชวาเพียง 1 ต้น สามารถแพร่พันธุ์ได้ถึง 1,000 ต้น ในเวลา 1 เดือน ซึ่งถึงแม่น้ำจะแห้งจนต้นตายแต่เมล็ดของมันก็ยังมีชีวิตต่อไปได้ถึง 15 ปี และทันทีที่เมล็ดได้รับน้ำที่เพียงพอมันก็จะแตกหน่อเป็นต้นใหม่ต่อไป ส่วนประโยชน์ของผักตบชวาก็มีหลายด้าน ตั้งแต่ดอกและก้านใบอ่อนที่สามารถนำมาลวกจิ้มน้ำพริกหรือทำแกงส้มรับประทานได้ นอกจากนี้ก้านและใบสามารถใช้เป็นอาหารเลี้ยงสัตว์ เช่น หมู หรือใช้ทำปุ๋ยหมัก และยังนำมาทำเป็นเครื่องจักสานจากผักตบชวาได้อีกด้วย

ดังนั้น กศน.อำเภอเมืองปทุมธานีจึงเล็งเห็นประโยชน์ของผักตบชวาโดยการจะนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความหลากหลาย เช่น สานเป็นเบาะรองนั่ง สานเสื่อ สานตะกร้า กระเป๋า กล่องทิชชู เป็นต้น อ่านเพิ่มเติม

นายสมจิตร แก้วพร้อม

 


ปราชญ์ ด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

นายสมจิตร แก้วพร้อม

ชื่อ-สกุล : นายสมจิตร แก้วพร้อม

ตำแหน่ง : สมาชิกสภาเทศบาลตำบลหลักหก เขต 1

เบอร์โทรศัพท์ : 08-1256-3707

ภูมิปัญญาท้องถิ่นปราชญ์ ด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

โล่เกียรติยศ : ได้รับรางวัลถ้วยรางวัลอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้าน (ทสม.) แห่งชาติ ประจำปี 2564 อันดับ 1 ระดับประเทศ

แห่เทียนพรรษา

 


แห่เทียนพรรษา

ประวัติความเป็นมา

ประเพณีแห่เทียนเข้าพรรษา วันเข้าพรรษา เป็นวันสำคัญในพุทธศาสนาวันหนึ่ง ที่พระสงค์เถรวาทจะอธิฐานว่าจะพักประจำอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง ตลอดระยะเวลาฤดูฝนที่มีกำหนดเป็นระยะเวลา ๓ เดือน ตามที่พระธรรมวินัยบัญญัติไว้ โดยไม่ไปค้างแรมที่อื่น หรือที่เรียกติกปากกันโดยทั่วไปว่า จำพรรษา ("พรรษา” แปลว่า ฤดูฝน, "จำ” แปลว่า พักอยู่) พิธีเข้าพรรษานี้ถือเป็นข้อปฏิบัติสำหรับพระสงค์โดยตรง ละเว้นไม่ได้ ไม่ว่ากรณีใดๆ ก็ตามการเข้าพรรษาตามปกติเริมนับตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ของทุกปี (หรือเดือน ๘ หลัง ถ้ามีเดือน ๘ สองหน)และสิ้นสุดลงในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ หรือวันออกพรรษา สาเหตุที่พระเจ้าทรงอนุญาตการจำพรรษาอยู่ ณ สถานที่ใดสถานที่หนึ่งตลอด ๓ เดือนแก่พระสงค์นั้น มีเหตุผลเพื่อให้พระสงฆ์ได้หยุดพักการจาริกเพื่อเผยแพร่ศาสนาไปตามสถานที่ต่าง ซึ่งจะเป็นไปด้วยความยากลำบากในช่วงฤดูฝน อ่านเพิ่มเติม

แหล่งท่องเที่ยวในตำบลหลักหก

 


วัดนาวง ต.หลักหก อ.เมือง จังหวัดปทุมธานี

ประวัติวัดราษฏร์นาวงษ์ (วัดโรงหีบ) "วัดนาวง" ปัจจุบัน

สถานที่ตั้ง เลขที่ 177 หมู่ที่ 1 ตำบลหลักหก อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี

วัดราษฎร์นาวง เดิมชื่อ “วัดโรงหีบ” ทั้งนี้มีประวัติที่มาของชื่อเท่าที่ศึกษาได้ว่าชื่อนี้เรียกตามที่ตั้งของวัด ซึ่งเคยเป็นโรงหีบอ้อย และบริเวณของวัดโดยรอบก็เคยเป็นไร่อ้อยเมื่อกว่าร้อยปีก่อน ต่อมาภายหลังเลิกการปลูกอ้อยมาทำนาแทน ประชาชนจึงเรียก วัดราษฎร์นาวงษ์

เป็น “วัดนาวง” ตามสภาพแวดล้อม ตั้งแต่นั้นมา

กล่าวกันว่าไร่อ้อยในท้องทุ่งหลักหก-ดอนเมืองนั้น ปลูกโดยพระพิสณห์สมบัติบริบูรณ์ ซึ่งเป็นข้าราชการกรมท่าซ้าย ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 พระยาพิสณห์ฯ เป็นพ่อค้าเชื้อสายจีน เดินทางขึ้นล่องค้าขายในแถบประเทศใกล้เคียง โดยอาศัยสำเภาขนส่งสิ้นค้าทางทะเล ท่านประสงค์จะปลูกสร้างบ้านพักอาศัยที่ท่านเป็นผู้ออกแบบเองโดยใช้ประสบการณ์ที่ท่านได้เคยเห็นมาระหว่างเดินทางค้าขายไปในที่ต่าง ๆ บ้านที่ท่านต้องการสร้างมีลักษณะเป็นอาคารก่อด้วยอิฐ ซึ่งในสมัยนั้นยังไม่มีปูนซิเมนต์ใช้ การก่ออิฐจะเชื่อมประสานด้วยทราย ปูนขาว ผสมน้ำอ้อย ฉะนั้นจะต้องใช้น้ำอ้อยในปริมาณมาก ท่านจึงนำชาวจีนมาทำไร่อ้อยในทุ่งหลักหก-ดอนเมือง และตั้งโรงหีบอ้อยขึ้นมาในทุ่งหลักหก-ดอนเมือง แห่งนี้

พระยาพิสณห์สมบัติบริบูรณ์ (โต) ท่านสนใจทางเกษตรกรรมโดยเฉพาะการปลูกข้าว ท่านได้ว่าจ้างคนจีนจากเมืองจีน โดยใช้เรือสำเภาของท่านเองมาไว้ที่ทุ่งรังสิต ให้ทำงานขุดคลองส่งน้ำทำนา เพื่อทำนาให้ได้สองครั้งตามท่านต้องการ แต่โอกาสไม่อำนวยท่านได้สิ้นชีวิตเสียก่อนงานสำเร็จ

ท่านได้แต่งงานกับคุณหญิงสิน มีธิดาชื่อ คุณปุก ซึ่งต่อมาได้แต่งงานกับท่านเจ้าสัว กิมซัว มีบุตรและธิดาสองคน

คือ คุณนายอุ่น และคุณหลวงนาวาเกนิกร (ซิวเบ๋ง) ต่อมาได้รับพระราชทานนามสกุล “โปษยะจินดา” คุณหลวงนาวาเกนิกร ได้ทำการสมรสกับคุณนายนวม ก่อนพระยาพิสณห์สมบัติบริบูรณ์สิ้นชีวิต ท่านได้ปลูกอ้อยในท้องนาจำนวนมากและส่งเข้าโรงหีบอ้อยนำน้ำอ้อยส่งไปที่ท้องที่ราชวงค์ เพื่อผสมกับทรายและปูนขาว สร้างบ้านราชวงค์ ซึ่งในสมัยนั้นไม่มีปูนซิเมนต์ พื้นที่ที่เป็นโรงหีบอ้อยนี้ปัจจุบันเป็นวัดนาวงค์ (เดิมชื่อวัดโรงหีบ) บริเวณที่ใช้ปลูกอ้อยก็คือพื้นที่ที่บริเวณรอบวัดและบริเวณวัดทั้งหมด

เมื่อสร้างเสร็จเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จึงได้ตั้งชื่อวัดที่ตนเองได้สร้างขึ้นนี้ว่า “วัดราษฎร์นาวง” พร้อมทั้งได้ถวายทรัพย์สมบัติทั้งส่วนที่เป็นสังหาริมทรัพย์ที่มีอยู่ในที่นี้ ไว้เป็นสมบัติของวัดทั้งสิ้น โดยเฉพาะที่ดินทั้งหมดมีเนื้อที่รวม 377 ไร่เศษ และได้อาราธนาพระภิกษุสงฆ์ จากสำนักวัดใกล้เคียงมาอยู่จำพรรษาบำเพ็ญสมณกิจตั้งแต่ พ.ศ. 2443 นั้น เป็นต้นมา

แหล่งที่มา : โรงเรียนวัดนาวง [ออนไลน์]. https://watnawong-s.thai.ac/home/info/1/ [วันที่สืบค้นข้อมูล 20 สิงหาคม 2565]

อ่านเพิ่มเติม

นางนภาพร อยู่เย็น ด้านเกษตรธรรมชาติ / เศรษฐกิจพอเพียง

 


นางนภาพร อยู่เย็น

ด้านเกษตรธรรมชาติ / เศรษฐกิจพอเพียง

บ้านเลขที่ 49 หมู่ที่ 4 ตำบลบางกะดี อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี

เป็นผู้มีเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถในด้านเกษตรธรรมชาติ เป็นอย่างดี โดยได้ฝึกฝนด้วยตนเองเป็นระยะเวลานาน จนมีความชำนาญ เชี่ยวชาญ และมีประสบการณ์ด้านเกษตรธรรมชาติ / เศรษฐกิจพอเพียงมากกว่า 10 ปี จนในได้การยอมรับจากคนในชุมชน ให้เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านด้านเกษตรธรรมชาติ / เศรษฐกิจพอเพีย

นางวลัยภรณ์ มีศีลธรรม

 


นางวลัยภรณ์ มีศีลธรรม
อายุ 69 ปี ที่อยู่ : 96 ม.1 ต.บึงสนั่น อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี 12110

โทร : 097-1362741 เป็นบุคคลที่ได้รับเลือกให้ภูมิปัญญาชาวบ้านด้านการแปรรูปสมุนไพร และได้จดทะเบียน OTOP ภายใต้ชื่อ สมุนไพร สบายแฮร์ ปัจจุบันมีสินค้าเกี่ยวกับการแปรรูปสมุนไพรต่างๆ มากมาย

ข้อคิดเห็นจากเครือข่าย TKP

 
Copyright © 2018 ศูนย์ข้อมูลความรู้ประชาชนจังหวัดปทุมธานี. Designed by OddThemes > Developed by mediathailand