TKP HEADLINE

Showing posts with label อำเภอลำลูกกา. Show all posts
Showing posts with label อำเภอลำลูกกา. Show all posts

วัดพืชอุดม

 




วัดพืชอุดม

วัดพืชอุดมเป็นวัดเดียวของไทยที่ได้หยิบยกเน้นเอา

เรื่องราวของพระปฐมสมโพธิตอนทรงทำยมกปาฏิหาริย์''เปิดโลก''

ตลอดทั่วทั้งหมื่นจักรวาลขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

พระบรมศาสดา ซึ่งได้นำเอามาเทศน์สั่งสอนกันมากที่สุดและเป็น

ตอนที่มีความสำคัญดีเยี่ยมที่สุดที่ได้ทรงแสดงไว้ในพระไตรปิฎก

วัดพืชอุดมได้สร้างวิหารพระเจ้าเปิดโลกเพื่อแสดงเรื่อง

ราวเกี่ยวกับนรก - สวรรค์ ๓๑ ภูมิ เพื่อเป็นอนุสติตือนใจให้คนละ

เว้นความชั่วมุ่งทำแต่ความดีตามหลักการที่ว่า"ทำดีได้ดี ทำชั่ว

ได้ชั่ว''ปลูกฝังคุณธรรมและ ให้ความรู้ในชาติกำเนิดภพภูมิต่างๆ

รวมทั้งในด้านศิลปวัฒนธรรมทั้งทางคดีโลกและคดีธรรมแบบ

โสตทัศนธรรมศึกษา

ร้านกาแฟในสวน

 



ร้านกาแฟในสวน

บรรยากาศภายในร้านมีต้นไม้เล็กใหญ่ตกแต่งอย่างสวยงามสดชื่นมากค่ะ มีบ่อน้ำหน้าร้านที่เลี้ยงปลาคาร์ฟสีสันสดใสและบ่อน้ำขนาดใหญ่ติดร้านพร้อมโต๊ะไม้ติดริมบ่อน้ำ ด้านในเป็นบ้านไม้สไตล์วินเทจค่ะสะสมของย้อนยุคมาประดับตกแต่งเช่นรูปภาพโบราณของใช้โบราณพร้อมกิจกรรมให้ลูกค้าเขียนโพสต์อิทติดร้านสีสันแสนสดใสลงตัวมากค่ะมีเก้าอี้บาร์ชิวติดบ่อเก๋ ๆ มีห้องแบบส่วนตัวพร้อมมุมหนังสือหลายร้อยเล่ม แคร่ไม้นั่งกลางแจ้ง ศาลาไม้และศาลามุงจากสำหรับนั่งเป็นครอบครัวแบบส่วนตัว มุมถ่ายภาพสวย ๆ ก็เยอะจุใจทุกวัยเช่นกันค่า

ศูนย์เรียนรู้ธนาคารขยะและสิ่งแวดล้อม ชุมชนสามัคคีหมู่8




 ศูนย์เรียนรู้ธนาคารขยะและสิ่งแวดล้อม ชุมชนสามัคคีหมู่8

ศูนย์เรียนรู้ธนาคารขยะและสิ่งแวดล้อม ประจำตำบลลาดสวาย ตั้งอยู่ที่กลุ่มแม่บ้านหัตกรรม หมู่ที่ 8 ตำบลลาดสวาย อำเภอลาดสวาย จังหวัดปทุมธานี เป็นแหล่งเรียนรู้ที่เกิดขึ้นในชุมชนร่วมกับกศน.ตำบลลาดสวายและหน่วยงานทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม โดยศูนย์เรียนรู้นี้มีความโดดเด่นทางด้านการบริหารจัดการขยะ ให้เป็นรายได้ของคนในชุมชน และสามารถเป็นวิทยากรให้ความรู้กับประชาชนในชุมชนนักศึกษากศน.อำเภอลำลูกกา ตลอดจนเป็นแหล่งเรียนรู้ชุมชน ที่มีหน่วยงานต่างๆเข้ามาศึกษาและนำไปเป็นต้นแบบในการบริหารจัดการขยะ บุคคลที่เป็นต้นแบบในการจัดการบริหารขยะ คือนางสุขศรี พิลาวรรณ เป็นผู้นำในการจัดตั้งโครงการธนาคารขยะ และการแปรรูปขยะให้มีมูลค่า มีการจัดตั้งคณะกรรมการ มี ระบบการจัดการให้เป็นธนาคารอย่างเต็มรูปแบบ ทำให้ได้รับการคัดเลือกเป็น ทสม.ดาวรุ่ง ระดับประเทศประจำพุทธศักราช 2558 ด้านการจัดการขยะมูลฝอย ธนาคารขยะและการแปรรูปขยะให้เป็นมูลค่าเป็นแหล่งเรียนรู้ นอกจากนี้ยังได้ขยายชุมชนต้นแบบในการคัดแยกขยะไปยังที่ทำการผู้ใหญ่บ้านหมู่ 1 โดยมีนางอารมณ์ โฉมพระกลับ เป็นต้นแบบในการคัดแยกขยะ การฝังกลบเศษอาหารที่เกิดในครัวเรือน การใช้ปุ๋ยหมักจากผัก ผลไม้ ในการทำนา พื้นที่ 20 ไร่ ผลสำเร้๗คือการได้รับรางวัลในการบริหารจัดการขยะทั้งระดับอำเภอและระดับจังหวัดปทุมธานี โดยด้รับเกียรติบัตรจากกระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

วัดกลางคลองสี่

 



วัดกลางคลองสี่

วัดกลางคลองสี่ สร้างขึ้นในปี ในวันพุธขึ้น9ค่ำเดือน4 ปีจอ โทศก พ.ศ. 2453 ตรงกับวันพุธที่8มีนาคม พ.ศ. 2453 ร.ศ.129 จ.ศ.1272 โดยความร่วมแรงร่วมใจจากชาวบ้านคลองสี่ ซึ่งเดิมเป็นชาวมอญ ที่อพยพมาจากเมืองมะละแม่งสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรีและมาตั้งถิ่นฐานที่บ้านบางตลาดปากเกร็ด นนทบุรี ต่อมาเมื่อมีการพัฒนาทุ่งรังสิตเมืองธัญบุรี ชาวมอญบางส่วนย้ายถิ่นฐานมาทำมาหากินทำนาในที่แห่งนี้ และสร้างวัดนี้ขึ้น หลังจากนั้นชาวบ้านได้อาราธนาพระภิกษุจากวัดสายไหมมาจำพรรษา และได้นิมนต์พระอาจารย์ด๊วด ญาณวโร (พระครูวิเศษธัญญโศภิต) จากวัดสนามเหนือ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี มาเป็นเจ้าอาวาสวัด หลวงปู่ด๊วด ญาณวโร เป็นพระภิกษุสงฆ์ที่เป็นครูบาอาจารย์ที่ชาวปทุมธานีเคารพนับถือไม่เคยเสื่อมคลาย ท่านได้สนับสนุนการศึกษาด้วยดีมาตลอด ได้เปิดโรงเรียนพระปริยัติธรรมและโรงเรียนประชาบาลขึ้นเป็นแห่งแรกในอำเภอลำลูกกา เมื่อสิ้นหลวงปู่ด๊วด ญาณวโร พระอาจารย์ทองอินทร์ เตชวุฑโฒ (พระมงคลศีลาจารย์) ได้ดำเนินการก่อสร้างบูรณะซ่อมแซมวัดได้เจริญอย่างมากในทุก ๆ ด้าน ทั้งได้สนับสนุนทุนการศึกษา ให้แก่โรงเรียนวัดกลางคลองสี่ตลอด ท่านเป็นพระเถรานุเถระที่มีอายุและพรรษากาลมากถึง 96 ปี ที่เป็นที่เคารพของชาวบ้านและคณะสงฆ์ในจังหวัดปทุมธานี วัดแห่งนี้ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2467 และผูกพันธสีมาเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2526 เดิมวัดแห่งนี้มีนามว่า "วัดใหม่กลางคลองสี่" แต่ได้เป็นนามเป็น "วัดกลางคลองสี่" เมื่อปี พ.ศ. 2480

ประเพณีการตักบาตรดอกไม้

 



ประเพณีการตักบาตรดอกไม้

มีความเป็นมาจากพุทธตำนาน กล่าวถึงสมัยพุทธกาล สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้เสด็จโปรดสัตว์ในกรุงพาราณสี วันหนึ่งได้เสด็จพระราชดำเนินมาถึงอุทยานพระเจ้าพิมพิสาร มีคนสวนหลวงผู้หนึ่ง มีหน้าที่เก็บดอกไม้ถวายพระเจ้าพิมพิสารทุกวัน แต่วันนั้นคนสวน ได้พบบุคคลหนึ่งมีลักษณะมหาบุรุษ อันประเสริฐ บังเกิดความเลื่อมใสจึงถวายดอกไม้ที่เก็บจากสวนหลวงทั้งหมด ให้แก่่มหาบุรุษโดยมิได้ทราบมาก่อนคือ พระพุทธเจ้า อานิสงส์แห่งการถวายดอกไม้แก่ผู้มีพระภาคเจ้าทำให้เกิดสิ่งมงคลแก่ชีวิตคนสวนมากมาย แม้แต่พระเจ้าพิมพิสาร ก็ทรง ปิติในอานิสงส์นั้นมิได้ลงอาญาแต่อย่างใด"การปฏิบัติธรรมและฟังธรรม เป็นการฟื้นฟูวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามและเพื่อเป็นการปลูกจิตสำนึกในการทำความดีร่วมกัน สิ่งที่ดีที่ประชาชนชาวพุทธหันมาให้ความสนใจในการสั่งสมบุญด้วยการสวดมนต์ ปฏิบัติธรรม ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ดีที่ควรได้รับการสนับสนุนให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป เพื่อเป็นการปลูกฝังขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีงามของชาวพุทธที่พึงกระทำให้ตลอดต่อเนื่องและสืบทอดไปยังเยาวชนต่อไป

ภูมิปัญญาท้องถิ่น การแปรรูปผลไม้

 



ภูมิปัญญาท้องถิ่น การแปรรูปผลไม้

นางนภธัญนันท์ วันดี

ที่ตั้ง 71 /278 หมู่ 7 ตำบลลำลาดสวาย อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี (เบอร์โทร089-8104871)

เป็นผู้มีความรู้ด้านการแปรรูปผลไม้เป็นอย่างดี โดยได้เริ่มตั้งแต่ร่วมกลุ่มแม่บ้าน หมู่ ๗ ตำบลลาดสวาย มาสมัครเรียนฝึกอาชีพกับกศน. ในด้านการแปรรูปผลไม้ที่มีในท้องถิ่นในสามารถอยู่ได้นานและนำมารับประทานได้ตลอดทั้งปี จากนั้นได้นำความรู้ที่เรียนสำเร็จมาเป็นวิทยากรการจัดการศึกษาต่อเนื่อง วิชาการแปรรูผลไม้ หลักสูตร 40 ชั่วโมง ร่วมกับ กศน.ตำบลลาดสวาย สนับสนุนฝึกอาชีพให้ผู้เข้าสนใจเรียนรู้ด้านการแปรรูปผลไม้ให้สามารถทำเป็นอาชีพได้เมื่อจบหลักสูตรแล้ว ตลอดจนรวมสมาชิกที่เรียนให้จัดตั้งกลุ่มผลิตภัณฑ์แปรรูปผลไม้และเนื้อสัตว์ตำบลลาดสวาย ออกขายในงานจังหวัดปทุมธานีและงานประจำปีต่างๆเพื่อสร้างโอกาส สร้างรายได้ให้กับครอบครัว

หมูฝอย

 



หมูฝอย

กศน.ตำบลาดสวาย ได้จัดการเรียนการสอนวิชาชีพการแปรรูปอาหาร
(หมูฝอย)ให้แก่ประชาชนในตำบลลาดสวายจน
สามารถรวมกลุ่มได้จำหน่ายได้และพัฒนาผลิตภัณฑ์ จำหน่ายในนามของกลุ่ม เมนูหมูง่าย ๆ เอาไว้ทํากินเล่น เป็นของฝาก เก็บได้นาน กินกับข้าวสวยหรือข้าวต้ม ยิ่งข้าวเหนียวก็ยิ่งเด็ด
กินเองก็เพลิน หรือทําขายก็ได้ สินค้ามีราคาถูก คนในชุมชนมีงานทำ มีเงินปันผล สร้างรายได้เสริมให้กับครอบครัวและตอนนี้แพร่หลายผ่านทางโซเชียลมีเดียอย่างกว้างขวาง ปัจจุบันมียอดจำหน่ายเดือนละประมาณ 2 หมื่นบาท

ลักษณะเด่น

อาชีพการทำหมูฝอย เป็นอาชีพที่สามารถสร้างรายได้หลัก รายได้เสริม เพื่อใช้เวลา ว่างให้เกิดประโยชน์

วัดแจ้งลำหิน

 



วัดแจ้งลำหิน

****ตั้งอยู่บ้านเลขที่ 18 หมู่ที่ 18 คันคลองหกวา ฝั่งใต้สายกลาง ตำบลบึงคำพร้อย อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย สร้างสเมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2439 โดยมีจ่าเชียว-นางจันทร์ เสตะกันณะ ถวายที่วัด 9 ไร่ 36 ตารางวา ต่อมานางสาวสมพันธ์ แจ่มนุช ถวายที่ดินเพิ่มเติม 9 ไร่ 2 งาน 38 ตารางวา นายเพิ่มสิน – นายพงษ์ศักดิ์ เสตะกันณะ ถวาย 2 ไร่ นางหมุย แก้วพวง ถวายให้เป็นถนนทางเข้าวัดกว้าง 10 เมตร ยาว 192 เมตร

วัดแจ้งลำหิน ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๅจ พฤษภาคม พ.ศ. 2549 มีที่ดินตั้งวัดจำนวน 29 ไร่ 1 งาน 96 ตารางวา ที่ธรณีสงฆ์ 1 ไร่ 1 งาน 24 ตารางวา

วัดประชุมราษฎร์

 


วัดประชุมราษฎร์ สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ 2400 สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินของวัดมีทั้งหมดจำนวน 124 ไร่ 1 งาน 62 ตารางวา เป็นที่ตั้งวัด (คือที่ซึ่งตั้งวัดตลอดจนเขตของวัดนั้น) จำนวน 22 ไร่ 1 งาน 62 ตารางวา ที่ธรณีสงฆ์ (คือที่ซึ่งเป็นสมบัติของวัด) จำนวน 102 ไร่ เป็นวัดที่มีพระพุทธรูปองค์ใหญ่ตั้งอยู่โดดเด่นริมถนนลำลูกกา ชาวบ้านมักเรียกว่า “วัดปากคลองหก” เพราะอยู่ทางด้านทิศเหนือของคลองหกวาในส่วนที่ติดกับคลองหก โดยมีชาวบ้านร่วมใจกันสร้าง เดิมวัดนี้ตั้งอยู่ริมคลองหกวา ต่อมาทางราชการได้ขุดคลองหกขึ้นไปทางทิศเหนือเชื่อมกับคลองรังสิต และขุดคลองสามวาทางด้านทิศใต้เกิดเป็นสี่แยก และได้ขนานนามว่า "วัดประชุมราษฎร์" แต่ชาวบ้านมักเรียกว่า วัดปากคลองหก

วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบึงคำพร้อย

 


วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบึงคำพร้อย

นางสวิง แก้วพวง อายุ 73 ปี อยู่บ้านเลขที่ 56 ต.บึงคำพร้อย อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี เป็นประธานกลุ่มแม่บ้านตำบลบึงคำพร้อยแปรรูปอาหารจากปลา โดยได้ใช้เวลาว่างจากการทำนาข้าว ชาวบ้านได้มีการขุดบ่อเพื่อเลี้ยงปลาดุกขาย จำหน่าย ต่อมาการเลี้ยงปลาดุกได้มีปริมาณเพิ่มมากขึ้น ราคาปลาดุกราคาตกต่ำเหลือกิโลกรัมละไม่ถึง 20 บาท ส่งผลให้ผู้เลี้ยงเกิดภาวะขาดทุน นางสวิง แก้วพวงได้มีการรวบรวมสมาชิก จำนวน 60 คน เพื่อระดมทุนหุ้นละ 100 บาท จัดตั้งกลุ่มแปรรูปอาหารจากปลา เป็นปลาดุกแดดเดียว เพื่อนำไปจำหน่ายให้กับสมาชิกในชุมชน ซึ่งสามารถสร้างรายได้เพิ่มมากขึ้น

การทำไม้กวาดดอกหญ้า

 


การทำไม้กวาดดอกหญ้า

    ดอกหญ้าไม้กวาด จัดเป็นพืชล้มลุกตระกูลหญ้าที่มีลำต้นตั้งตรง ลำต้นแตกกอคล้ายกอไผ่ ลำต้นมีลักษณะทรงกลม แบ่งเป็นข้อปล้องชัดเจน มีความสูงของลำต้นประมาณ 3–4 เมตร ขนาดลำต้นประมาณ 7.5–18 มิลลิเมตร ดอกหญ้าไม้กวาดเป็นพืชที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ อยู่ตามเชิงเขาหรือพื้นที่สูง ส่วนใหญ่จะเก็บได้ในช่วงเดือนธันวาคม–เมษายน ซึ่งช่วงที่ดอกออกมากที่สุดจะอยู่ในช่วงต้นเดือนมกราคม

ประเพณีลอยกระทง

 




ประเพณีลอยกระทง         เป็นประเพณีโบราณของอินเดียที่ประเทศไทยรับเข้ามาปฏิบัติ แต่ไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจนว่าทำกันมาตั้งแต่เมื่อไหร่ เท่าที่ปรากฏกล่าวได้ว่ามีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยเป็นราชธานี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสันนิษฐานว่า เดิมทีเดียวเห็นจะเป็นพิธีของพราหมณ์กระทำเพื่อบูชาพระผู้เป็นเจ้าทั้งสาม คือ พระอิศวร พระนารายณ์ และพระพรหม ต่อมาได้ถือตามแนวทางพระพุทธศาสนามีการปล่อยโคมลอยเพื่อบูชาพระบรมสารีริกธาตุพระจุฬามณีในชั้นดาวดึงส์ และลอยกระทงเพื่อบูชารอยพระพุทธบาท ซึ่งประดิษฐาน ณ หาดทรายแม่น้ำนัมมทา (แม่น้ำนัมมทา เป็นแม่น้ำที่คู่ขนานกับทิวเขาวินธัย ไหลลงภาคตะวันตกของอินเดียแบ่งเขตอินเดียออกเป็นภาคเหนือและภาคใต้)

วัดดอนใหญ่

 


วัดดอนใหญ่

วัดดอนใหญ่ อีกหนึ่งวัดสวย ที่ตั้งอยู่ใน อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2453 โดยหลวงโยธานฤบาล และนางสะอาด ที่ได้ถวายที่นาเอาไว้ เมื่อก่อนชาวบ้านจะเรียกกันว่า วัดกลางคลองแปด เรียกได้ว่าเป็นพุทธศาสนสถานที่สำคัญในเขตลำลูกกาคลอง 8 เลยค่ะ มีชาวบ้านหลั่งไหลมากราบไหว้ขอพรกันเป็นประจำ เพราะเปรียบเสมือนเป็นที่พึ่งทางจิตใจให้แก่พุทธศานิกชนทั่วไป

ตลาดริมน้ำวัดนังคัลจันตรี

 

ตลาดริมน้ำวัดนังคัลจันตรี ปทุมธานี ตลาดโบราณใกล้กรุงแห่งใหม่

ตลาดริมน้ำวัดนังคัลจันตรี แหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ของจังหวัดปทุมธานี ที่นี่เป็นเหมือนแหล่งซื้อ-ขายสินค้าให้กับชุมชน เอาใจนักท่องเที่ยวด้วยบรรยากาศความชิลและเป็นกันเองของเหล่าบรรดาพ่อค้าแม่ขาย รวมถึงยังได้ชมแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของชุมชน และเราเองก็ไม่พลาดตามเก็บภาพบรรยากาศ "ตลาดริมน้ำวัดนังคัลจันตรี" มาฝาก ไว้เป็นไอเดียที่เที่ยววันหยุดสำหรับทุกคนกัน

ตะกร้อหวาย

 



ตะกร้อหวาย

ตะกร้อเป็นการละเล่นชนิดหนึ่งของไทย แต่ไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดว่ามีมาตั้งแต่สมัยใดหรือชนชาติใดเป็นต้นคิดของการละเล่นชนิดนี้ แต่ในหลายๆ ประเทศก็มีการเล่นตะกร้อ หรือการละเล่นที่คล้ายคลึงกัน อาทิ ในประเทศพม่า มีหลักฐานว่า ราวพ.ศ. 2310 ทัพพม่ายกมาตั้งที่ค่ายโพธิ์สามต้น ทหารพม่ามีการละเล่นชนิดหนึ่งที่เรียกว่า “ชิงลง” ทางประเทศฟิลิปปินส์ก็มีการละเล่นที่เรียกว่า “ซิปัก” (SIPAK) ในประเทศมาเลเซียตะกร้อถือเป็นกีฬายอดนิยมแต่คนมาเลเซียเรียกกีฬาชนิดนี้ว่า “ซีปักรากา” (SEPAK RAKA) ซึ่งคำว่า “รากา” ก็หมายถึงตะกร้านั่นเอง ส่วนในประเทศจีนก็มีการละเล่นที่คล้ายคลึงกับตะกร้อ แต่เป็นตะกร้อชนิดที่ทำมาจากหนังที่เย็บเป็นลูกแล้วปักด้วยขนไก่ เช่นเดียวกับประเทศเกาหลีที่ใช้ดินเหนียวห่อด้วยผ้าสำลี ซึ่งปักด้วยขนหางของไก่ฟ้า

กลุ่มวิสาหกิจชุมชน เพราะรักกสิกรรม

 


กลุ่มวิสาหกิจชุมชน เพราะรักกสิกรรม

นายชาตรี ระดมเล็ก ประธานนาแปลงใหญ่ข้าววิสาหกิจชุมชนเพราะรักกสิกรรม กล่าวว่า กลุ่มนาแปลงใหญ่ข้าววิสาหกิจชุมชนเพราะรักกสิกรรม รวมกลุ่มกันภายใต้โครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ ของกรมการข้าว โดยมีนักวิชาการจากศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานีเข้ามาส่งเสริมทุกๆด้านเพื่อการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพและข้าวอินทรีย์ในรูปแบบการรวมกลุ่มการทำการเกษตรแบบแปลงใหญ่ ที่สามารถลดต้นทุนได้ 30–70 %

สืบสานประเพณีกฐินสามัคคีทางน้ำ

 


สืบสานประเพณีกฐินสามัคคีทางน้ำ

ชาวบ้านตำบลลำลูกกามีพิธีทอดกฐินสามัคคีทางน้ำ สืบสานประเพณีชาวลุ่มน้ำ นำโดยผู้นำชุมชน นายกเทศมนตรี และข้าราชการท้องถิ่นพร้อมประชาชนชาวตำบลลำลูกกา จัดกิจกรรมที่บริเวณหน้าที่ว่าการอำเภอลำลูกกา ไปทอดกฐินทางน้ำระยะทาง 1 กิโลเมตร ที่วัดนังคัลจันตรี ตำบลลำลูกกา อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี

ศูนย์บริการวิชาการเกษตรของมูลนิธิชัยพัฒนา อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี

 



ศูนย์บริการวิชาการเกษตรของมูลนิธิชัยพัฒนา อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี

ศูนย์บริการวิชาการเกษตรของมูลนิธิชัยพัฒนาอำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี เลขที่ 2 หมู่ 2 ถนนเลียบคลอง 11 ตำบลบึงทองหลาง อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี 12150. โทรศัพท์ : 02-997-4406. โทรสาร : 02-997-4407.

facebook : ศูนย์บริการวิชาการเกษตรของมูลนิธิชัยพัฒนา อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี เป็นแหล่งเรียนรู้ที่ ให้มูลนิธิชัยพัฒนาร่วมกับส่วนงานที่เกี่ยวข้องศึกษาความเหมาะสมในการจัดตั้งศูนย์บริการวิชาการเกษตรรวมทั้งจัดการระบบชลประทาน” ตามพระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร จากพระราชดำรัสดังกล่าว มูลนิธิชัยพัฒนาได้น้อมนำเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาที่ดินซึ่งคุณผุสนาและคุณพเยาว์ พนมวัน ณ อยุธยา คชาชีวะ ได้น้อมเกล้าฯ ถวาย จำนวน 252 ไร่ 36 ตารางวา ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยจัดตั้งเป็น “ศูนย์บริการวิชาการเกษตรของมูลนิธิชัยพัฒนา”อำเภอลำลูกกาจังหวัดปทุมธานี

วัดสุวรรณบำรุงราชวราราม

 



วัดสุวรรณบำรุงราชวราราม

วัดสุวรรณบำรุงราชวราราม วัดที่มีสถานที่กว้างขวาง ภาพเขียนฝาผนังในโบสถ์ น่าจะเป็นภาพใหม่ สียังสดใส สวยน่าชม ที่สำคัญ มีทางลอดโบสถ์ มีสิ่งศักดิ์ให้เราเข้าไปไหว้กันก็จะมี พระพรหม พระราหู และพระพิฆเนศวร รูปปั้นหนูที่ทางวัดตั้งไว้ให้เราบูชา หนูตัวนี้ประวัติว่ากันไว้ว่าจะเป็นสัตว์เลี้ยงของพระพิฆเนศวร เขาให้เราสามารถให้เราเข้าไปขอพรกระซิบหูหนู และให้เราบอกในสิ่งที่เราอยากได้ เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ชีวิตและส่วนด้านหลังข้าง ๆ โบสถ์จะพบพระนอนองค์ใหญ่มาก จุดเด่นของวัดนี้ก็คือการลอดโบสถ์เพื่อเป็นสิริมงคลในชีวิต ส่วนอีกโซนด้านในสุดจะมีสวนสาธารณะที่สำหรับนั่งพักผ่อนให้อาหารปลาสวาย นั่งทานข้าว และก็มีสนามเด็กเล่นเลี้ยงสัตว์ อาทิเช่น พญาเต่า จระเข้ นกเงือก และปลาช่อนอเมซอล มีตลาดริมแม่น้ำ เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้ทำบุญ ให้อาหารปลา

การกวนกระยาสารท

 



การกวนกระยาสารท

นางศิริพร นิ่มสุดใจ หมู่ 4 ต.บึงทองหลาง อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี

เป็นผู้มีความรู้ เกี่ยวกับการกวนกระยาสารทเทศกาลทำบุญสิ้นเดือนสิบ เดิมเป็นฤดูทำบุญด้วยเอาข้าวที่กำลังท้อง (ข้าวรวงเป็นน้ำนม) มาทำยาคูและกวนข้าวปายาสเลี้ยงพราหมณ์ อย่างนี้เรียกว่า กวนข้าวทิพย์

ส่วนผู้นับถือพุทธศาสนานำคตินั้นมาใช้ แต่เปลี่ยนเป็นถวายแก่พระภิกษุสงฆ์ อุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติในปรโลก สำหรับชาวบ้านทั่วไปมักทำแต่กระยาสารท

ข้อคิดเห็นจากเครือข่าย TKP

 
Copyright © 2018 ศูนย์ข้อมูลความรู้ประชาชนจังหวัดปทุมธานี. Designed by OddThemes > Developed by mediathailand